บริษัทดำเนินการทบทวน/ระบุ ประเด็นสำคัญ (Materiality Topics) โดยพิจารณาปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กร ความเสี่ยงและโอกาสที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ครอบคลุมประเด็นในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

โดยรวมความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในกระบวนการคัดลือกประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ (Materiality) ตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนสากล GRI Standard โดยการจัดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนผ่านเครื่องมือ Materiality Matrix เพื่อพิจารณาและทดสอบประเด็นสำคัญ 2 ด้าน คือ

  • ประเด็นสำคัญอันเกิดจากการดำเนินงานขององค์กร (แกนนอนX) และ
  • ประเด็นที่สำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (แกนตั้งY)

โดยบริษัทมีการดำเนินการตรวจสอบความครบถ้วนและความสมบูรณ์ของเนื้อหา (Completeness) ความสอดคล้องและความครอบคลุมทุกด้านของการดำเนินธุรกิจในบริบทด้านความยั่งยืน (Sustainability Context) ทั้ง 3 มิติ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกระบวนการในขั้นตอนของการจัดทำกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัท และนำเสนอฝ่ายบริหารพิจารณารับรองประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนนี้

กระบวนการคัดเลือกประเด็นสำคัญของธุรกิจ

ผลการทบทวนประเด็นสาระสำคัญของธุรกิจ ปี 2565

มิติเศรษฐกิจ
  1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  2. การจัดการของเสีย และของเสียอันตราย

มิติสังคม
  1. ความปลอดภัยข้อมูล
  2. การมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม
  3. คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
  4. ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของพนักงาน
  5. สิทธิมนุษยชน

มิติธรรมาภิบาล
  1. การตอบสนองต่อภาวะการเปลี่ยนแปลง
  2. การกำกับดูแลกิจการ
  3. การจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท BAFS GROUP

E
ด้านสิ่งแวดล้อม

5

ประเด็น

  1. การจัดการและการบรรเทาผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  2. การจัดการพลังงาน และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. การบริหารจัดการของเสียมลพิษ และการจัดการการหกรั่วไหลของน้ำมัน
  4. การบริหารจัดการน้ำ
  5. เศรษฐกิจหมุนเวียน
S
ด้านสังคม

4

ประเด็น

  1. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  2. ความมั่นคงในอาชีพและการพัฒนาศักยภาพพนักงาน
  3. การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
  4. สิทธิมนุษยชน และสิทธิด้านแรงงาน
G
ด้านเศรษฐกิจ

7

ประเด็น

  1. การลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม และพลังงานทางเลือก
  2. คุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ
  3. การปรับกระบวนการทำงานเป็นระบบดิจิทัล (Digitalization)
  4. การเปิดเผยทิศทางธุรกิจ ความคืบหน้า ของกลุ่มบริษัท และการขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน
  5. การบริหารจัดการห่วยโซ่อุปทาน บรรษัทภิบาล
  6. การป้องกันและต่อต้านคอรัปชัน
  7. ความปลอดภัยทางไซเบอร์
หลักเกณฑ์สำคัญที่ใช้พิจรณาในการจัดลำดับความสำคัญขององค์กร
  1. โอกาสในการสร้างผลกระทบของประเด็น
  2. ระดับความรุนแรงของผลกระทบ
  3. ระดับความเสี่ยงทางธุรกิจ
  4. ระดับผลกระทบในระยะยาว
  5. ความสำคัญหรือโอกาสของประเด็นในอนาคต
  6. ความสอดคล้องกับนโยบายหรือเป้าหมายองค์กร
หลักเกณฑ์สำคัญที่ใช้พิจรณาในการจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย
  1. ระดับผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย
  2. ความสำคัญของประเด็นในอนาคตต่อผู้มีส่วนได้เสีย
  3. ความหลายหลายของผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ
  4. ระดับความคาดหวังต่อจากมาตรการที่ตอบสนองของกลุ่มบริษัท