บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร สำหรับปี 2546

ที่ กผ.022 /2547 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 เรื่อง บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร สำหรับผลการดำเนินงาน ปี 2546 เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร สำหรับผลการดำเนินงาน ปี 2546 1. รายงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน 1.1 รายได้ 1.1.1 รายได้ค่าบริการ บริษัทมีรายได้ค่าบริการในปี 2546 ทั้งสิ้น 837.98 ล้านบาท ลดลง 28.95 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.34 เทียบกับปี 2545 โดยปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อรายได้ค่าบริการของบริษัทฯได้แก่ปริมาณน้ำมันที่ ให้บริการและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สำหรับในปี 2546 บริษัทฯมีปริมาณน้ำมันที่ให้ บริการลดลงเล็กน้อยเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยปริมาณน้ำมันที่ให้บริการในปี 2546 มีปริมาณเท่ากับ 3,493.93 ล้านลิตรลดลงเพียง 58.52 ล้านลิตร หรือร้อยละ 1.65 เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำมันที่ให้บริการใน ปี 2545 เนื่องจากผลกระทบของเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือ SARS ในช่วงไตรมาสที่ 2 ต่อเนื่องถึงช่วงต้นไตรมาสที่ 3 ทำให้ความต้องการปริมาณน้ำมันในช่วงดัง กล่าวลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 4 ปี 2546 ซึ่งเป็นช่วง High Season ของธุรกิจการบิน บริษัทฯมี ปริมาณน้ำมันที่ให้บริการเท่ากับ 953.02 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 25.68 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 2.77 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจการบินในอนาคต และจะเห็นได้ อย่างชัดเจนในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ปัจจัยสำคัญอีกประการที่มีผลกระทบต่อรายได้ค่าบริการของบริษัทฯได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ เนื่องจากรายได้ค่าบริการของบริษัทฯกำหนดเป็นอัตราที่อ้างอิงกับค่าเงินดอลลาร์ สหรัฐ โดยค่าเงินบาทเฉลี่ย แข็งค่าขึ้นจาก 42.95 บาทต่อดอลลาร์ ในปี 2545 เป็นประมาณ 41.41บาทต่อ ดอลลาร์ในปี 2546 คิดเป็นอัตราการแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 3.58 ซึ่งเมื่อรวมกับผลกระทบจากการลดลง ของปริมาณน้ำมันที่ให้บริการในอัตราร้อยละ 1.65 ทำให้รายได้ค่าบริการของบริษัทฯลดลงประมาณ ร้อยละ 3.34 ทั้งนี้การที่รายได้ค่าบริการไม่ได้ลดลงมากเท่ากับผลรวมของอัตราการลดลงของปริมาณน้ำ มันและการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องจากบริษัทฯได้ปรับเพิ่มอัตราค่าบริการจาก 2.13 เซ็นต์ต่อแกลลอน เป็น 2.34 เซ็นต์ต่อแกลลอน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 เป็นต้นมา 1.1.2 รายได้ค่าเช่า บริษัทฯมีรายได้ค่าเช่าในปี 2546 ทั้งสิ้น 47.35 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วย ค่าเช่าอาคาร สำนักงานและระบบรับน้ำมันทางท่อ แก่บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) จำนวน 45.88 ล้าน บาท รายได้จากการให้เช่าที่ดินและระบบสาธารณูปโภคแก่บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (THAPPLINE) จำนวน 1.28 ล้านบาท และรายได้จากการให้เช่าอาคารสำนักงานแก่บริษัท ไทยเชื้อเพลิง การบิน จำกัด (TARCO) จำนวน 0.18 ล้านบาท โดยรายได้ค่าเช่าเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1.33 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.89 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าเช่าระบบรับน้ำมันทางท่อจาก FPT จำนวน 1.21 ล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราลอยตัวอ้างอิงจากรายได้ค่าขนส่งน้ำมัน JET A-1 สำหรับปี 2546 FPT มียอด รายได้จากการขนส่งน้ำมัน JET A-1 เพิ่มขึ้นจากปี 2545 เนื่องจากอัตราค่าบริการขนส่งน้ำมันของ FPT มีการปรับเพิ่มขึ้นเป็นระยะๆจากลิตรละ 6.91 สตางค์ในเดือนเมษายน 2546 เป็น 9.01 สตางค์ ในเดือน ตุลาคม 2546 1.1.3 รายได้อื่น สำหรับรายได้อื่นของบริษัทฯ ในปี 2546 มียอดทั้งสิ้น 44.85 ล้านบาท ประกอบด้วยรายการ สำคัญๆ ได้แก่ รายได้ดอกเบี้ยรับจาก FPT จำนวน 5.12 ล้านบาท ดอกเบี้ยรับจากเงินลงทุนระยะสั้น จำนวนประมาณ 12.17 ล้านบาท เงินต้นที่ได้รับชำระจาก FPT ตามตารางการจ่ายชำระหนี้ในสัญญา ปรับโครงสร้างหนี้ครั้งที่ 3 จำนวน 5.62 ล้านบาท และเงินต้นที่ได้รับชำระก่อนกำหนดจำนวน 8.35 ล้านบาท ซึ่งเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ระยะยาวบริษัทที่เกี่ยวข้องกันนี้ บริษัทฯได้บันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะ สูญแล้วทั้งจำนวนในปี 2545 ดังนั้นเงินต้นที่ได้รับชำระคืนทั้งหมดจะบันทึกเป็นรายได้อื่น นอกจากนี้ เป็นรายการกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการบันทึกหนี้สินระยะยาวในส่วนที่เป็นเงินกู้สกุลดอลลาร์ ของ TARCO จำนวน 9.71 ล้านบาท 1.2 ค่าใช้จ่าย 1.2.1 ต้นทุนการให้บริการ ปี 2546 บริษัทฯมีต้นทุนการให้บริการทั้งสิ้น 354.30 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยรายการ สำคัญๆ ดังนี้ ค่าเช่าท่อส่งน้ำมันของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ("ทอท.") จำนวน 67.51 ล้านบาท ค่าเช่าที่ดิน 20.82 ล้านบาท ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ จำนวน 18.60 ล้านบาท ค่าเบี้ยประกันภัย ประเภท All Risks Insurance จำนวน 10.31 ล้านบาท และ Third Party Legal Liability Insurance จำนวน 16.85 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคา จำนวน 70.95 ล้านบาท เงินเดือนพนักงานจำนวน 65.49 ล้านบาท และค่าตอบแทนพิเศษประจำปี จำนวน 26.75 ล้านบาท ต้นทุนการให้บริการเพิ่มขึ้น 11.80 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.44 จากปี 2545 โดยสาเหตุหลักของ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการให้บริการมาจากการปรับเพิ่มขึ้นค่าเช่าท่อส่งน้ำมันที่บริษัทฯเช่าจาก ทอท. ประมาณ 4.55 ล้านบาท ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของ CPI การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ได้แก่ เงินเดือนและค่าตอบแทนพิเศษประจำปี จำนวน 8.43 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้น ของค่าเบี้ยประกันภัยทั้งสิ้น 6.75 ล้านบาท แบ่งเป็นประเภท All Risks Insurance จำนวน 4.82 ล้านบาท และ Third Party Legal Liability Insurance จำนวน 1.93 ล้านบาท นอกจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นข้างต้นแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายบางรายการที่ลดลง ได้แก่ ค่าซ่อมแซม อุปกรณ์ ลดลง 2.74 ล้านบาท ค่าสาธารณูปโภคลดลง 2.59 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคาลดลง 2.62 ล้าน บาท 1.2.2 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร บริษัทฯมีค่าใช้จ่ายในการบริหารในปี 2546 จำนวน 143.39 ล้านบาท ประกอบด้วยรายการ สำคัญๆ ได้แก่ เงินเดือนพนักงานจำนวน 34.23 ล้านบาท ค่าตอบแทนพิเศษประจำปี จำนวน 13.86 ล้าน บาท ค่าเสื่อมราคา 11.12 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลง 10.10 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.58 จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากการลดลงของค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ จำนวน 12.14 ล้าน บาท 1.2.3 ส่วนแบ่งผลขาดทุนจากเงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย บริษัทฯมีส่วนแบ่งผลขาดทุนจากเงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสียลดลงจาก 4.01 ล้าน บาทในปี 2545 เป็น 1.83 ล้านบาท ในปี 2546 ซึ่งเป็นผลมาจากส่วนแบ่งผลขาดทุนจาก TARCO ทั้ง จำนวน ในช่วงเดือนมกราคมถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2546 ก่อนที่บริษัทฯจะซื้อหุ้นใน TARCO เพิ่มเป็น ร้อยละ 90 โดยในช่วงดังกล่าว TARCO ยังไม่มีรายได้จากการดำเนินงาน ในขณะที่มีรายได้จากดอกเบี้ย รับจำนวน 0.03 ล้านบาทและมีค่าใช้จ่ายในการบริหาร จำนวนประมาณ 4.08 ล้านบาท ทำให้มีผลขาด ทุนสุทธิเท่ากับ 4.06 ล้านบาท 1.3 สรุปผลการดำเนินงาน กำไรสุทธิ สำหรับปี 2546 คิดเป็นจำนวน 312.68 ล้านบาท ลดลง 7.13 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.23 จากปี 2545 ซึ่งมีผลกำไรสุทธิ 319.80 ล้านบาท เป็นผลมาจากสาเหตุต่างๆดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ประกอบกับการ ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 ตั้งแต่ปี 2546-2550 เนื่องจากการที่บริษัทฯเข้าจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในปี 2545 จากผลการดำเนินงานของบริษัทฯประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2546 บริษัทฯมีกำไรสุทธิ 312.68 ล้านบาท และมีกำไรต่อหุ้นประมาณหุ้นละ 0.92 บาท โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีมติให้นำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการจ่ายเงินปันผลงวดที่ 2 จากกำไรสุทธิปี 2546 ในอัตรา 0.32 บาทต่อหุ้น ให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งมีรายชื่อปรากฎอยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นในวันที่ 29 เมษายน 2547 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 หลังจากที่ได้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้ว 0.28 บาทต่อหุ้น เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2546 คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลทั้งสิ้นประมาณร้อยละ 65 2. รายงานและวิเคราะห์ฐานะการเงิน 2.1 สินทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวม จำนวน 3,516.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,613.79 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.80 เมื่อเทียบกับปี 2545 โดยสินทรัพย์ที่สำคัญในปี 2546 ประกอบด้วยรายการ สำคัญๆดังนี้ 2.1.1 บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นลดลงจาก 837.46 ล้านบาท ในปี 2545 เป็น 438.24 ล้านบาท ในปี 2546 หรือลดลง 399.22 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดการ ได้มาและใช้ไปของเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นที่สำคัญดังนี้ เงินสดจากการดำเนินงาน 438.26 ล้านบาท เงินสดจ่ายสุทธิเพื่อการลงทุนใน TARCO (836.07) ล้านบาท เงินลงทุนในโครงการคลังน้ำมัน (521.99) ล้านบาท เงินสดจ่ายล่วงหน้าค่าก่อสร้างคลังน้ำมัน (127.43) ล้านบาท เงินลงทุนในโครงการท่อส่งน้ำมันฯของ TARCO (53.73) ล้านบาท เงินสดจ่ายตามสัญญาซื้อสิทธิเรียกร้อง (69.17) ล้านบาท เงินกู้ยืมระยะสั้น 958.00 ล้านบาท เงินปันผลจ่าย (180.19) ล้านบาท 2.1.2 เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นเงินลงทุนใน TARCO ลดลงทั้งจำนวน 169.07 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากการที่บริษัทฯได้ลงทุนเพิ่มใน TARCO เมื่อเดือนสิงหาคม 2546 ทำให้บริษัทฯมีสัดส่วนการถือหุ้นใน TARCO ทั้งสิ้นร้อยละ 90 บริษัทฯจึงเปลี่ยนวิธีการบันทึก บัญชีเงินลงทุนจากวิธีส่วนได้เสียเป็นวิธีทำงบการเงินรวม ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2546 เป็นต้นไป 2.1.3 ที่ดิน สิ่งปรับปรุงสินทรัพย์เช่าและอุปกรณ์สุทธิ ในปี 2546 มีจำนวน 1,939.60 ล้าน บาท ประกอบด้วยที่ดิน สิ่งปรับปรุงสินทรัพย์เช่าและอุปกรณ์ของบริษัทฯ จำนวน 1,175.61 ล้านบาท และเป็นงานระหว่างก่อสร้างของ TARCO จำนวน 763.99 ล้านบาท 2.1.4 ค่าความนิยม ซึ่งเกิดจากการที่บริษัทฯซื้อหุ้นของ TARCO ในราคาที่สูงกว่าราคาทุน เมื่อเดือนสิงหาคม 2546 ทำให้บริษัทฯต้องบันทึกรายการดังกล่าวเป็นค่าความนิยม จำนวน 756.01 ล้าน บาท และตัดจำหน่ายตามอายุสัมปทาน เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยจะเริ่มตัดจำหน่ายเมื่อ TARCO เปิดให้ บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิ 2.2 หนี้สิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีหนี้สินรวมจำนวน 1,759.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,441.85 ล้านบาท หรือร้อยละ 454.56 เมื่อเทียบกับปี 2545 คิดเป็นอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนประมาณ 1 ต่อ 1 เท่า โดยแบ่งเป็นรายการสำคัญๆได้ดังนี้ 2.2.1 เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้น จำนวน 958 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้ยืมเงินระยะ สั้นเพื่อลงทุนซื้อหุ้น TARCO จำนวน 800 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2547 นอกจากนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเพื่อจ่ายค่าก่อสร้างล่วงหน้าจำนวน 158 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินเบิก เกินบัญชีที่เปิดไว้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม 200 ล้านบาท โดยบริษัทฯได้ชำระคืน เงินเบิกเกินบัญชีดังกล่าวทั้งจำนวนแล้วในเดือนมกราคม 2547 2.2.2 หนี้สินภายใต้สัญญาซื้อสิทธิเรียกร้อง จำนวน 86.48 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2544 บริษัทฯ มีการบันทึกสำรองค่าใช้จ่ายค้างจ่ายจากการค้ำประกัน FPT จำนวน 415.11 ล้านบาทเป็นหนี้สิน ของบริษัทฯ ซึ่งต่อมาในปี 2545 บริษัทฯได้ปลดภาระค้ำประกันดังกล่าวโดยการซื้อสิทธิเรียกร้องจาก เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ของ FPT และรับภาระหนี้แทนทั้งจำนวน โดยบันทึกเป็นหนี้สินของบริษัทฯภายใต้ชื่อ บัญชี "ภาระหนี้สินภายใต้สัญญาซื้อสิทธิเรียกร้อง" โดยบริษัทฯได้ชำระเงินงวดแรกให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ไปเป็นจำนวน 207.55 ล้านบาทในวันที่ทำสัญญา และส่วนที่เหลือจำนวน 207.55 ล้านบาทนั้น บริษัทฯต้องผ่อนชำระทุกไตรมาสๆละ 17.30 ล้านบาทเป็นระยะเวลา 12 ไตรมาส เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2545 ถึงเดือนมีนาคม 2548 2.2.3 เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารจำนวน 442.16 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินกู้ยืมระยะยาวของ TARCO เพื่อใช้ในการลงทุนสร้าง Hydrant ทั้งจำนวน นอกจากภาระหนี้สินดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีภาระหนี้สินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจาก ปัจจุบัน บริษัทฯมีภาระในการลงทุนในโครงการต่างๆที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมาก บริษัทฯจึงได้มี แผนในการหาแหล่งเงินทุนจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อมาใช้ในการลงทุนดังกล่าว โดยมีวงเงินกู้รวม 2,800 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้เพื่อทดแทนเงินกู้ระยะสั้นที่ใช้ในการซื้อหุ้น TARCO จำนวน 800 ล้านบาท อายุ สัญญา 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 3-Month THBFIX + 0.90% ระยะเวลาปลอดหนี้ 3 ปี ซึ่งได้มีการทำสัญญาไปแล้วเมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 นอกจากนี้ยังมีเงินกู้โครงการ (Project Finance) จำนวน 2,000 ล้านบาท ระยะเวลาคืน เงินกู้ 10 ปี เพื่อใช้ลงทุนในโครงการคลังน้ำมันและโครงการเติมน้ำมันอากาศยาน ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอน การทำสัญญา และคาดว่าจะเริ่มเบิกถอนได้ในเดือนมีนาคม 2547 เมื่อบริษัทฯกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินครบจำนวนแล้ว จะทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของ บริษัทฯเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ดี บริษัทฯมีนโยบายที่จะดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนดังกล่าวไม่ให้เกิน 2 ต่อ 1 เท่า เพื่อรักษาความมั่นคงของฐานะการเงินของบริษัทฯ และอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจะลดลงอย่างรวดเร็วหลังการเปิด ให้บริการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2.3. ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 บริษัทฯมีส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 1,757.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 จำนวน 171.93 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯมีกำไรจากผลการดำเนินงานของบริษัทฯจำนวน 312.68 ล้าน และมี ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อยจำนวน 39.47 ล้านบาท ในขณะที่มีการจ่ายเงินปันผลจากผลประกอบการ ครึ่งปีหลังของปี 2545 และครึ่งปีแรกของปี 2546 รวมจำนวน 180.19 ล้านบาท 3. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต บริษัทฯมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินให้กับ TARCO ในวงเงิน สินเชื่อ 700 ล้านบาท และ 8 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งภาระหนี้สินจะเกิดขึ้นเมื่อ TARCO เกิดภาวะการมีเงินไม่เพียง พอที่จะชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยต่อผู้ให้สินเชื่อ และบริษัทฯจะมีภาระทางการเงินในจำนวนเงินที่ผู้ให้สินเชื่อ เห็นว่าเพียงพอที่จะแก้ไขภาวะการมีเงินไม่เพียงพอของ TARCO TARCO มีผลกำไรสุทธิในปี 2546 จำนวน 2.32 ล้านบาท โดยมีรายได้จากดอกเบี้ยรับจำนวน 0.05 ล้าน บาท กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 9.71 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการบริหารจำนวน 7.43 ล้านบาท ทำให้ TARCO มีผลขาดทุนสะสมสิ้นสุด ณ 2546 เป็นจำนวน 15.86 ล้านบาท โดย ณ สิ้นปี 2546 TARCO มีภาระหนี้สินสกุลเงิน บาทจำนวน 327 ล้านบาทและหนี้สินสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจำนวน 2.898 ล้านเหรียญ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ (ม.ร.ว. ศุภดิศ ดิศกุล ) กรรมการผู้จัดการ