ระบบบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
แนวทางและนโยบายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
บริษัทและกลุ่มบริษัท มุ่งมั่นดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตลอดการดำเนินธุรกิจเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงาน
บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทย่อย มุ่งเน้นการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคํานึงถึงผลกระทบต่อชุมชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการอนุรักษ์พลังงาน และการใช้พลังอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนด คณะทำงาน นโยบาย กลยุทธ์ แนวทางการจัดการ และแผนงานที่มุ่งไปสู่การเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ดังต่อไปนี้
- ปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบและมาตราฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจขององค์กร
- ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจขององค์กร
- สร้างจิตสำนึกการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและให้ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง
- จัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สามารถตรวจสอบได้และมีแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรม
- เปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทอย่างโปร่งใสผ่านช่องทางต่างๆที่เหมาะสม
ระบบบริหารจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ระบบบริหารจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
แผนการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
- มีการดำเนินการติดตามและประเมินความสอดคล้องของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
- มีการบริหารจัดการขยะอันตราย ตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีระบบบริหารจัดการของเสียอันตรายตั้งแต่การจัดเก็บ การตรวจสอบ (Hazardous Waste Audit) และการกำจัด โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงการบันทึกบัญชีปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละไตรมาส
- มีการแต่งตั้งคณะทำงานอนุรักษ์พลังงาน โดยมีการตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร และจากการหน่วยงานภายนอก เพื่อดำเนินการจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน ส่งกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
- มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ การอบรมด้านอนุรักษ์พลังงาน และมาตรการควบคุมและลดการใช้พลังงาน
- มีระบบการจัดเก็บข้อมูลด้านพลังงาน เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนด้านการจัดการพลังงาน อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสะสม BAFS ปี 2562-2566 เปรียบเทียบกับปีฐาน 2565
เป้าหมาย
3,026,161
กิโลวัตต์-ชั่วโมง
เป้าหมายลดลง
30%
จากปีฐาน (2566)
การใช้พลังงานไฟฟ้าจาก Solar Cell BKK Storage (ม.ค.-ธ.ค. 2566)
สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเปรียบเทียบทั้ง BKK Storage ปี 2566
Measure & Analysis
การใช้พลังงานไฟฟ้าของ BKK Storage ตั้งแต่มกราคมถึงธันวาคม
คิดเป็นจำนวน 3,077,027 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
โดยใช้พลังงานจาก Solar Cell
คิดเป็นจำนวน 186,757 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
เท่ากับ 6.07% เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าจาก MEA 2,890,270 กิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือเท่ากับ 93.93%
การใช้พลังงานไฟฟ้าจาก Solar Cell DMK Storage (ม.ค.-ธ.ค. 2566)
สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเปรียบเทียบทั้ง DMK Storage ปี 2566
Measure & Analysis
การใช้พลังงานไฟฟ้าของ DMK Storage ตั้งแต่ตุลาคมถึงธันวาคม
คิดเป็นจำนวน 1,573,030 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
โดยใช้พลังงานจาก Solar Cell
คิดเป็นจำนวน 587,660 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
เท่ากับ 37.36% เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าจาก MEA 985,370 กิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือเท่ากับ 62.64%
การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
ปริมาณการใช้น้ำประปา สะสม BAFS ปี 2562-2566 เปรียบเทียบกับปีฐาน 2565
เป้าหมาย
18,015
ลูกบาศก์เมตร
เป้าหมายลดลง
10%
จากปีฐาน (2566)
การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
ปริมาณน้ำกลับมาใช้หมุนเวียน (Water Recycling)
ปริมาณน้ำกลับมาใช้ใหม่ ปี 2566
DMK
10,092
ลูกบาศก์เมตร
BKK
9,613
ลูกบาศก์เมตร
การบริหารจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม
การจัดการมลพิษอากาศ
บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลและควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม โดยมีการกำหนดเป้าหมายและการควบคุมการปล่อยมลพิษให้อยู่ภายใต้ค่ามาตรฐานที่กำหนด
เป้าหมายการลดการปล่อยมลพิษและผลการดำเนินงานของปี 2565 และ 2566 ควบคุมการปล่อยมลพิษให้ไม่เกิน 80% ของค่าควบคุม
ผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณของสารอินทรีย์ระเหยง่าย
สารอินทรีย์ระเหยง่าย | ค่าควบคุม (mg/l) |
เป้าหมาย (mg/l) |
ผลการตรวจวัด | การประเมินผล (ผ่าน/ไม่ผ่าน) |
|
---|---|---|---|---|---|
2566 | 2565 | ||||
Volatile Organic Compounds (VOCs) | 17 | 14 | 0.070 mg/l | 0.189 mg/l | ผ่าน |