ธุรกิจการบิน
บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BAFS)
ดำเนินธุรกิจให้บริการระบบเติมน้ำมันอากาศยานอย่างครบวงจร ทั้งระบบขนส่งน้ำมันอากาศยานผ่านท่อแรงดันสูง ระบบจัดเก็บน้ำมันอากาศยาน และระบบเติมน้ำมันอากาศยาน
ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานภูมิภาคอีก 3 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานสมุย สุโขทัย และตราด
การจ่ายน้ำมันผ่านระบบ Aircraft Refueling System
บริการระบบจัดเก็บน้ำมันอากาศยาน
ระบบเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน
ธุรกิจของเรา
ธุรกิจของเรา
เทคโนโลยีด้านการบริการ
บาฟส์ เป็นสุดยอดแห่งเทคโนโลยีและเปี่ยมไปด้วยสมรรถนะแห่งงานบริการโดยเราได้ทำการ ศึกษาและออกแบบร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีระบบการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน สร้างสรรค์ระบบการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานที่ดีเยี่ยม และเพื่อให้เป็นมาตรฐานสูงสุดในด้านการบริการ บริษัทได้มีการควบคุมคุณภาพเชื้อเพลิงตามข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำมันอากาศยาน Aviation Fuel Quality Requirements For Joint Operated System Checklist (AFQRJOS Checklist) ซึ่งมาตรฐานนี้ถูกจัดทำขึ้นโดยองค์กรที่เป็นตัวแทนของบริษัทน้ำมันชั้นนำของโลก และได้รับการรับรองจาก International Air Transport Association (IATA) โดยบริษัทมีข้อกำหนดและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเติมน้ำมันอากาศยานเป็นไปตาม Joint Inspection Group (JIG) ซึ่งเป็นมาตรฐานของบริษัทน้ำมันทั่วโลก
ข้อกำหนดและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเติมน้ำมันอากาศยาน
ปัจจุบัน บริษัทฯ ให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานด้วยระบบ Hydrant Pipeline Network ที่สนามบินสุวรรณภูมิ บริษัทฯ ได้พัฒนาระบบ Hydrant Pipeline Network ให้ก้าวไปอีกขั้นโดยการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีระบบเติมน้ำมันเชื้อเพลิง อากาศยานมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานให้สูงยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพของสนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับสนามบินดอนเมืองได้มีการปรับปรุงด้านเทคโนโลยีการให้บริการชั้นสูงที่มีขีด ความสามารถในด้านการบริการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานที่ใช้ในการเติมให้แก่ อากาศยาน ของสายการบินประเภทต้นทุนต่ำ (Low cost airline) ทั้งเที่ยวบินภายในและเที่ยวบินภายนอกประเทศ ที่มีการควบคุมระยะเวลา Ground time ที่สั้น เที่ยวบินขนส่งสินค้ารวมถึงการให้บริการต่อเที่ยวบินของหน่วยราชการที่ ฝั่ง บ.น.6
ทุกขั้นตอนของการให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิและที่สนามบินดอนเมือง อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของห้องศูนย์ควบคุม (Control Room) ที่สถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยาน และที่ห้อง Flight Control ของสถานีบริการน้ำมันอากาศยาน โดยคำนึงถึงคุณภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
ในส่วนของระบบบริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานของบริษัทฯ นี้ จะประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ 5 ส่วน คือ
1. ท่อส่งน้ำมันเข้าสถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยานคลัง (Jet A-1 Supply Pipelines)
สถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยานของบริษัทฯ ออกแบบให้สามารถรับน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานประเภท Jet A-1 ได้จาก 2 แหล่ง ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะมีปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานอย่างเพียงพอ ต่อความต้องการของสนามบินทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ และที่สนามบินดอนเมือง โดยน้ำมันจะส่งผ่านทางท่อที่ออกแบบสำหรับน้ำมัน Jet A-1 โดยเฉพาะ
2. สถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยาน (Aviation Fuel Depot)
หน้าที่ของสถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยาน คือ การรับและเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานพร้อมทั้งสูบจ่ายน้ำมันไปยัง สนามบินโดยผ่านระบบ Hydrant Pipeline Network น้ำมันที่เก็บจะถูกควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ก่อนที่จะจ่ายไปยังสนามบินสิ่งที่เจือปนรวมถึงน้ำจะถูกกรองออกจากน้ำมัน Jet A-1 เพื่อรับรองว่าน้ำมันนั้น ใส บริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งเจือปน (Clear & Bright).
สถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยานสุวรรณภูมิประกอบไปด้วยถังเก็บน้ำมันขนาด 15 ล้านลิตรจำนวน 5 ถัง ความจุรวม 75 ล้านลิตร โดยมีระบบจ่ายน้ำมันอัตโนมัติประกอบไปด้วย hydrant pumps จำนวน 10 ชุด (สำรองอีก 1 ชุด) สามารถจ่ายน้ำมันได้ชั่วโมงละ 4,540 ลูกบาศก์เมตร โดย hydrant pumps ทั้ง 10 ชุดสามารถแปรผันความเร็วได้ตลอดเวลา (variable speed drive) ซึ่งใช้เทคโนโลยี inverter เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานของสนามบิน สุวรรณภูมิและเป็นการช่วยประหยัดพลังงานอีกทางหนึ่ง
a) ระบบควบคุมการรับ-จ่ายโดยอัตโนมัติ (Process Automation and Control System)
บริษัทฯ ใช้ระบบควบคุมการรับ-จ่ายโดยอัตโนมัติชั้นสูงที่เรียกว่า Distributed Control System (DCS) ซึ่งสามารถควบคุมการเปิด-ปิด วาล์วรับ-จ่ายน้ำมัน ควบคุมปั๊มรับ-จ่ายน้ำมันผ่านจอคอมพิวเตอร์ได้โดยสะดวกและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์ไว้ในรูปแบบ historical data ทำให้สะดวกต่อการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง เพื่อค้นหาความผิดปกติของระบบ
b) ระบบวัดปริมาณน้ำมันในถังอัตโนมัติ (Automatic Tank Gauging)
ระบบนี้ทำหน้าที่วัดค่าที่สำคัญๆ ของน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานด้วยความแม่นยำและเที่ยงตรงสูง โดยจะเชื่อมต่อกับระบบ DCS ทำให้สามารถอ่านค่าความหนาแน่น ระดับ และอุณหภูมิน้ำมันได้ในเวลาเดียวกัน
c) ระบบดับเพลิง (Fire Fighting Facilities)
ที่สถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยานของบริษัทฯ ได้ออกแบบและติดตั้งระบบดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งเตรียมพร้อมไว้สำหรับรับมือกับเหตุการณ์เพลิงไหม้ได้หลากหลายรูปแบบ โดยอาศัยอุปกรณ์ที่เพียบพร้อม เช่น ปืนฉีดน้ำขนาดใหญ่ ระบบลดความร้อนของผิวถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบฉีดโฟมดับเพลิงเข้าถัง และระบบฉีดโฟมในลานถัง ซึ่งทุกระบบมีความพร้อมในการใช้งานได้ทันที
d) ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television System)
พื้นที่โดยรอบสถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยาน ทั้งบริเวณอาคารสำนักงาน และบริเวณถังเก็บน้ำมัน ได้มีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่มีการบันทึกภาพถ่ายคุณภาพสูงตลอด 24 ชั่วโมง โดยสามารถเก็บบันทึกไว้ได้นานถึง 1 เดือน ดังนั้นกรณีหากเกิดเกตุการณ์ต่างๆ จึงสามารถเรียกข้อมูลที่บันทึกไว้กลับมาดูได้อีกครั้ง
e) ระบบตรวจจับการบุกรุกแนวรั้ว (Perimeter Intrusion Detection System)
นอกจากระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดแล้ว บริษัทฯ ได้ติดตั้งระบบตรวจจับการบุกรุกแนวรั้วประเภท Infrared Beam โดยระบบจะบอกตำแหน่งการบุกรุกเพี่อให้เจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยสามารถเข้าไป จัดการกับผู้บุกรุกได้ทันเวลา
f) ระบบ Oily Separator & Oil Detector sensors
บริษัทมีความตระหนักในการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมโดยได้มีการติดตั้งระบบ บ่อ Oily Separator พร้อมอุปกรณ์ Oil detector sensors ไว้รอบบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการมีน้ำมันรั่วไหล โดยระบบดังกล่าวจะแจ้งเตือนให้กับพนักงานทราบในกรณีที่มีการรั่วไหลของน้ำมันออกจากระบบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นว่าจะไม่มีการรั่วไหลของน้ำมันออกสู่สาธารณะ
3. สถานีบริการน้ำมันอากาศยาน (Into-Plane Service Facility)
ที่สถานีบริการน้ำมันอากาศยานทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมและบริหารงานให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานในเขต สนามบิน งานเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทุกประเภทจะถูกจัดการผ่านห้อง flight control
สถานีบริการบริการน้ำมันอากาศยานประกอบไปด้วยอาคารสำนักงานฝ่ายลานจอด โรงซ่อมบำรุงรถเติมน้ำมัน ถังเก็บน้ำมันใต้ดินพร้อมปั๊มสูบจ่าย จุดเติมน้ำมันให้กับรถเติมน้ำมันอากาศยานประเภท refueller และสถานีทดสอบอุปกรณ์เติมน้ำมันอากาศยาน (test & calibration station)
4. ระบบท่อจ่ายน้ำมันไปยังสนามบิน (Hydrant Pipeline Network)
ระบบ hydrant pipeline network เป็นเครือข่ายท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแรงดันสูงที่ฝังอยู่ใต้ดินและ กระจายไปทั่วใต้บริเวณลานจอด น้ำมัน Jet A-1 จากคลังจะถูกสูบจ่ายโดย hydrant pump ผ่านระบบ hydrant pipeline ไปยังหลุมจอดแต่ละหลุม
สนามบินสุวรรณภูมิมีพื้นที่บริการระบบ hydrant ทั้งหมด 120 หลุมจอด ส่วนที่สนามบินดอนเมืองมี 70 หลุมจอด
5. รถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน (Aircraft Refuelling Vehicles)
ขั้นตอนสุดท้ายที่จะนำน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานไปสู่อากาศยานนั้น คือ รถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รถ Dispenser และรถ Refueller รถบริการทั้ง 2 ชนิด สามารถให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานให้แก่ทุกสายการบินได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความเอาใจใส่อย่างเข้มงวดในทุกขั้นตอนจึงทำให้บริษัทฯ สามารถกำหนดและควบคุมคุณภาพของน้ำมันทุกหยดที่ใช้เติมแก่อากาศยาน ใส บริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งเจือปน (Clear and Bright) ตรงตามมาตรฐาน จนเป็นที่เชื่อถือและยอมรับโดยทั่วไปว่าน้ำมันทุกหยดที่เติมแก่อากาศยานนั้น เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ตลอดจนการบริการที่ดีได้มาตรฐาน ทั้งมีระบบและอุปกรณ์ที่ทันสมัยถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย จึงเป็นที่มาของการได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO9001:2015 จากสถาบัน Bureau Veritas Certification (BVC) ที่ทั่วโลกต่างยอมรับโดยทั่วกัน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้การบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้นำระบบ Aviation Refuelling Management System (ARMS) มาใช้เพื่อความถูกต้องแม่นยำและให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยระบบประกอบไปด้วย
a) ระบบสำนักงาน (Office System)
ระบบสำนักงานซึ่งติดตั้งอยู่ในสถานีย่อยฝั่งลานจอดมีหน้าที่จัดเตรียมข้อมูล ควบคุมสั่งการให้บริการของรถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน รวมไปถึงการบริหารกำลังคนและอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำมันเชื้อ เพลิงอากาศยานของสายการบินต่างๆ ในสนามบิน
b) ระบบบนรถให้บริการ (Vehicle Information System)
ระบบบนรถให้บริการสามารถที่จะรับข้อมูลการบริการได้ 2 ทาง คือ USB flash drive หรือโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless communications)
ที่ตั้งของบาฟส์
สถานีบริการสุวรรณภูมิได้เริ่มเปิดให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานอย่างครบวงจร แก่สายการบินต่างๆที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 ด้วยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย และรัฐบาลมีนโยบายที่จะให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทจึงได้พัฒนาระบบ Hydrant Pipeline Network ให้ก้าวไปอีกขั้นโดยการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีระบบเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานให้สูงยิ่งขึ้น
โดยสถานีบริการสุวรรณภูมิ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ :
คลังน้ำมันอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Depot)
Suvarnabhumi Depot encompasses 63 rai of area on the eastern part of Suvarnabhumi airport. It is crossed in the middle by the Nong-gnuhao canal. An office building, an operations building, and 5 tanks of Jet A-1 fuel with total capacity of 75 million liters are situated within the depot. The automated fuel receiving-dispensing system comprise 10 sets of Variable Speed Drive Hydrant Pumps, which uses the inverter technology to allow for Suvarnabhumi airport’s aircraft fuel demands and to save energy. Also situated within the depot are fire-fighting facilities, a closed-circuit television system, and a perimeter intrusion detection system. In addition to these, the company has also installed a fiber-optic perimeter intrusion system capable of indicating the point of intrusion so that security personnel may move in to deal with intruders in a timely manner.
ท่อส่งน้ำมันเข้าคลัง (Jet A-1 Supply Pipelines)
คลังน้ำมันอากาศยานสุวรรณภูมิได้มีการออกแบบให้สามารถรับน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานประเภท Jet A-1 ได้จาก 2 เส้นทาง คือ จากโรงกลั่นน้ำมันบางจาก-ช่องนนทรีและจากโรงกลั่นน้ำมันต่างๆที่มาบตาพุด-ศรีราชาทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะมีปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานอย่างเพียงพอต่อความต้องการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยน้ำมันจะส่งผ่านทางท่อที่ออกแบบสำหรับน้ำมัน Jet A-1 โดยเฉพาะไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สถานีบริการย่อยฝั่งลานจอดประกอบไปด้วยอาคารสำนักงานฝ่ายบริการลานจอด โรงซ่อมบำรุงรถเติมน้ำมัน ถังเก็บน้ำมันใต้ดินพร้อมปั๊มสูบจ่าย จุดเติมน้ำมันให้กับรถเติมน้ำมันอากาศยานประเภท Refueller และสถานีทดสอบอุปกรณ์เติมน้ำมันอากาศยาน (Test & Calibration Station)
สถานีบริการย่อยฝั่งลานจอด (Into-Plane Service Substation)
ถานีบริการย่อยฝั่งลานจอด เป็นศูนย์ควบคุมและบริหารงานให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานในเขตสนามบินสุวรรณภูมิ งานเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทุกประเภทจะถูกจัดการผ่านศูนย์ควบคุมการให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน
ระบบท่อจ่ายน้ำมันไปยังสนามบิน (Hydrant Pipeline Network)
ระบบ Hydrant Pipeline Network เป็นเครือข่ายท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแรงดันสูงที่ฝังอยู่ใต้ดินและกระจายไปทั่วใต้บริเวณลานจอด ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยน้ำมัน Jet A-1 จากคลังจะถูกสูบจ่ายโดย hydrant pump ผ่านระบบ hydrant pipeline ไปยังหลุมจอดแต่ละหลุม รวมทั้งสิ้นจำนวน 119 หลุมจอด โดยมีบริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด (Tarco) เป็นผู้ดำเนินการซึ่งได้รับสัมปทานจาก บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.)
รถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน (Aircraft Refuelling Vehicles)
ขั้นตอนสุดท้ายที่จะนำน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานไปสู่อากาศยานนั้น คือ รถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รถ Dispenser และรถ Refueller รถบริการทั้ง 2 ชนิด สามารถให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานให้แก่ทุกสายการบินได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้การบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้นำระบบ Aviation Fuel Management System มาใช้เพื่อความถูกต้องแม่นยำและให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยระบบประกอบไปด้วย
ระบบสำนักงาน (Office System)
ระบบสำนักงานซึ่งติดตั้งอยู่ในสถานีย่อยฝั่งลานจอดมีหน้าที่จัดเตรียมข้อมูล ควบคุมสั่งการให้บริการของรถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทั้ง 2 ชนิด รวมไปถึงการบริหารกำลังคนและอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานของสายการบินต่างๆ ในสนามบิน
ระบบบนรถให้บริการ (Vehicle Information System)
ระบบบนรถให้บริการสามารถที่จะรับข้อมูลการบริการได้ 2 ทาง USB Flash Drive หรือโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Communications) พนักงานที่ให้บริการเพียงระบุข้อมูลเที่ยวบิน ทะเบียนเครื่อง และหลุมจอด จากนั้นให้บริการเติมน้ำมันและเมื่อการบริการเสร็จสิ้น ระบบคอมพิวเตอร์ในรถจะบันทึกข้อมูลทั้งหมดของการเติมครั้งนั้นพร้อมพิมพ์ใบรับน้ำมัน (Delivery Receipt) โดยอัตโนมัติ
สถานีบริการดอนเมือง ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529 ตามมติคณะรัฐมนตรีในปี 2526 เพื่อดำเนินการบริหารการจัดเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานและให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงแก่อากาศยานที่ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.)
Don Mueang International Airport (DMK) โดยเป็นผู้ให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานอย่างครบวงจรเพียงรายเดียว และเมื่อมีการขยายการให้บริการไปที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 นั้น ทำให้ท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเครื่องบินที่ไม่มีตารางบินแน่นอนเช่น เครื่องบินส่วนตัว เครื่องบินเช่าเหมาลำ เครื่องบินราชการ เครื่องบินของโรงเรียนการบิน เป็นต้น และจากที่ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 ให้สายการบินภายในประเทศ ที่มีตารางเวลาแน่นอน มีการบินแบบจุดต่อจุดทำการบินได้ ทำให้ สถานีบริการดอนเมืองมียอดให้บริการเพิ่มขึ้นประมาณ 85 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา
คลังน้ำมันอากาศยานดอนเมือง (Don Mueang Depot)
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนวิภาวดีรังสิต ประกอบด้วยอาคารสำนักงานใหญ่ และสำนักงานของบริษัทในเครือ ทำหน้าที่รับ-จ่ายพร้อมจัดเก็บน้ำมันอากาศยาน (Jet A-1) ที่บริษัทผู้ค้าน้ำมันส่งมาเพื่อให้บริการแก่สายการบินที่เป็นลูกค้าของตน โดยสามารถจัดเก็บน้ำมันอากาศยานได้ประมาณ 19 ล้านลิตร มีระบบรับจ่ายน้ำมันอัตโนมัติ ประกอบไปด้วย Hydrant Pump จำนวน 4 ชุด ระบบวัดปริมาณน้ำมันในถังอัตโนมัติ (Tank Gauging) รวมทั้งระบบความปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วย ระบบดับเพลิง ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV System) และระบบตรวจจับการบุกรุกแนวรั้ว (Infrared Sensor Beam)
ระบบท่อส่งน้ำมันใต้ลานจอด (Hydrant Pipeline Network)
ทำหน้าที่ส่งจ่ายน้ำมันอากาศยานจากคลังน้ำมันผ่านท่อจ่ายน้ำมันขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้ว ซึ่งวางฝังไว้ใต้ดินลอดผ่านถนนวิภาวดีรังสิตเข้าสู่สนามบินและกระจายไปทั่วบริเวณหลุมจอดเครื่องบิน
ระบบการให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน (Into-plane Services)
บริการเติมน้ำมัน Jet A-1 เข้าสู่เครื่องบินโดยรถ Dispenser ผ่านระบบ Hydrant และรถ Refueller ซึ่งมีถังบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ ติดตั้งที่ตัวรถ ใช้ในการเติมน้ำมันให้แก่เครื่องบินที่อยู่นอกระบบ Hydrant
ถานีบริการสมุย เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2542 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของท่าอากาศยานสมุย บนเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ บนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีระบบคลังน้ำมันสามารถเก็บสำรองน้ำมันได้ประมาณ 1 ล้านลิตร และให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานด้วยรถ Refueller เท่านั้น มีระบบรักษาความปลอดภัยและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน มีระบบกล้องวงจรปิด (CCTV System)
เกาะสมุยนับเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มีอัตรานักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ถือได้ว่าเป็นสนามบินที่มีศักยภาพในการเติบโต
สถานีบริการสุโขทัย ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2543 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของท่าอากาศยานสุโขทัย บนเนื้อที่ประมาณ 0.5 ไร่ มีระบบคลังน้ำมันสามารถเก็บสำรองน้ำมันได้ประมาณ 25,000 ลิตร และให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานด้วย รถ Refueller
สถานีบริการน้ำมัน บริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 99 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราดสถานีบริการตราดมีพื้นที่โดยประมาณ 20 ตารางวาโดยให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานที่ยวบินภายในประเทศ 2 เที่ยวบินต่อวัน ให้บริการด้วยรถ Refueller มีระบบคลังน้ำมันเก็บสำรอง 25,000 ลิตร
ผู้ใช้บริการ
Bangkok Aviation Fuel Services หรือ BAFS เป็นบริษัทเชื้อเพลิงอากาศยานเพียงแห่งเดียวที่ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพแห่งประเทศไทย บริการผลิตภัณฑ์หลักคือ JET A-1
หมายเหตุ : รายชื่อผู้ใช้บริการนี้ไม่ได้เรียงลำดับตามปริมาณการเติม
ระบบการปฏิบัติการ
บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ให้บริการน้ำมันอากาศยานแบบครบวงจร ณ สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง สนามบินสมุย สนามบินสุโขทัย และสนามบินตราด
คลิกปุ่มไฮไลท์เพื่อดูฟีเจอร์หลัก
Storage Tanks
There are 5 main, fixed cone-roof type, storage tanks with a total capacity of about 75 million liters. They are fully epoxy coated and equipped with free vent and floating suctions. Inlet and outlet valves are motorized valves which can be controlled from the control room.
Hydrant Pumps
One jockey and 11 main hydrant pumps are used to supply the hydrant fuelling system. The jockey pump, or starting pump, has a pumping capacity of 10 m3/hr. Each main hydrant pump has a pumping capacity of 454 m3/hr, thus, enabling total delivery flow rate about 5,000 m3/hr.
In order to increase its accuracy and work efficiency, BAFS has implemented an automatic receiving and delivering system to be Distributed Control System (DCS). This system controls and open/ close valve to receive and delivery fuel from the control room; there is central operator supervisory control which is reduces multi-system complexities.
Besides, Automatic Tank Gauging has been installed not only to increase accuracy but also to link data to the DCS system, that simultaneously reads the fuel level and temperature.
Refuellers
Refuellers are large fuelling vehicles with an integral tank and pump. They are developed where hydrant fuelling system is not available. Their tank capacities vary. The common size is 65,000 liters. "ARMS System" has been installed in all refullers with the aim of improving refueling services with accuracy, speed and safety. Most of the refuellers can supply up to 3,200 liters per minute. They control pressure at aircraft adapters to acceptable limit and filter JET A-1 for the last time before it enters aircraft tanks.
Hydrant Fuelling System
Hydrant Fuelling system managed by Thai aviation refueling company limited (TARCO). Receives Jet A-1 fuel from the depot is then channeled through 8 hydrant pumps into the hydrant pipelines network which buried underground and spreading throughout the aircraft parking area and then to each of the 119 parking pits. The final step of the Jet A-1 fuel delivery from the hydrant pit to the aircrafts requires hydrant dispensers.
Dispensers
Currently BAFS has 40 high-flow dispensers, each of them has "ARMS System" installed with the aim of improving refueling services with accuracy, speed and safety. They are used for transferring JET A-1 from high-pressure hydrant fuelling system into aircraft's tanks. Each of them has maximum flow rate of 3,800 liters/minute. They reduce and control pressure from the hydrant to acceptable limit and filter JET A-1 one last time before it enters aircraft's tanks.
In line with our commitment to providing the best service possible, "ARMS System" has been installed on to all dispensers and refuellers in order to facilitate our refueling system and to serve aircrafts the accurate and efficient service, the system consists of:
- An administrative system, responsible for providing data and controlling orders for daily service.
- An ARMS system, information is received through a "card" or by radio transmission. The Operator simply verifies the flight details, aircraft registration number, location and then provides the fuelling service. Then refueling is completed, the ARMS system issues an automatic delivery receipt (D/R)
JET A-1
JET A-1 is a kerosine type fuel used for aircraft with gas turbine engines, more commonly known as jet engines. Although similar to kerosine, it is clear and bright and visually free from solid matter and undissolved water at ambient fuel Temperature. Normally fuel color ranges from water white (colorless) to a straw/pale yellow.
น้ำมันเจ็ท เอ-1 ถูกส่งมาจากท่อขนส่งน้ำมันของบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) และบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (THAPPLINE) โดยน้ำมันจะถูกเก็บรวมกันที่ถังน้ำมันของบริษัทฯ และบริษัทฯจะรับน้ำมันที่ผ่านการรับรองและตรวจสอบคุณภาพแล้วเท่านั้น ในระหว่างการรับน้ำมันเข้าสู่ถังเก็บ น้ำมันจะถูกกรองผ่าน อุปกรณ์กรองน้ำมันขั้นต้น และ อุปกรณ์กรองน้ำมันและแยกน้ำ เพื่อกรองเอาสิ่งปนเปื้อนและแยกน้ำออกจากน้ำมัน และตรวจสอบคุณภาพน้ำมันตามระยะเวลาที่มาตรฐานกำหนด หลังจากนั้น น้ำมันเจ็ท เอ-1 จะถูกปล่อยให้พักตัวในถังเก็บอย่างน้อย 2 ชั่วโมงและทดสอบคุณภาพน้ำมันอีกครั้งก่อนถูกจ่ายเข้าสนามบิน น้ำมันเจ็ท เอ-1 จะถูกสูบจ่ายผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Floating Suction และอุปกรณ์กรองและแยกน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีสิ่งปนเปื้อนและน้ำเข้าสู่ ระบบท่อส่งน้ำมันใต้ลานจอดของเครื่องบิน
น้ำมันเจ็ท เอ-1 จะถูกนำส่งเข้าถังน้ำมันของเครื่องบิน โดย รถจ่ายน้ำมันที่มีการติดตั้งอุปกรณ์กรองน้ำมันและแยกน้ำ และอุปกรณ์มาตรวัดปริมาตรนํ้ามัน รวมถึงอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยอื่นๆ และสำหรับในบริเวณที่ไม่มีระบบท่อส่งน้ำมันใต้ลานจอดของเครื่องบิน การเติมน้ำมันเข้าถังน้ำมันของเครื่องบินจะใช้ รถเติมน้ำมันที่บรรทุกถังน้ำมันแทน
ทั้งนี้ การจ่ายน้ำมันโดยรถจ่ายน้ำมันและรถเติมน้ำมันที่บรรทุกถังน้ำมัน จะจ่ายผ่านระบบ Aviation Refueling Management System (ARMS) เพื่อความถูกต้องแม่นยำและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของบริษัทฯ
10 อันดับสายการบิน
ลูกค้า 10 อันดับแรกของ BAFS ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยพิจารณาจากการใช้บริการทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2567
หมายเหตุ : รายชื่อสายการบินนี้ไม่ได้เรียงลำดับตามปริมาณการเติม
ปริมาณน้ำมัน
ปริมาณน้ำมันโดยรวมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง มกราคม - พฤศจิกายน 2567
ปริมาณน้ำมันทั้งหมด
มกราคม - พฤศจิกายน 2567
อัตราเติบโตของปริมาณน้ำมัน
มกราคม - พฤศจิกายน 2567
เดือน | 2565 | 2566 | 2567 | |||
---|---|---|---|---|---|---|
ปริมาณน้ำมัน(ล้านลิตร) | อัตราเติบโตของปริมาณน้ำมัน (%) | ปริมาณน้ำมัน(ล้านลิตร) | อัตราเติบโตของปริมาณน้ำมัน (%) | ปริมาณน้ำมัน(ล้านลิตร) | อัตราเติบโตของปริมาณน้ำมัน (%) | |
มกราคม | 190.6 | +58.04% | 370.5 | +94.41% | 421.3 | +13.68% |
กุมภาพันธ์ | 165.9 | +37.79% | 332.6 | +100.51% | 407.9 | +22.63% |
มีนาคม | 210.0 | +24.26% | 366.0 | +74.27% | 423.5 | +15.72% |
เมษายน | 209.2 | +33.76% | 354.9 | +69.65% | 414.2 | +16.69% |
พฤษภาคม | 220.3 | +77.38% | 351.4 | +59.53% | 404.0 | +14.97% |
มิถุนายน | 221.0 | +85.40% | 336.3 | +52.18% | 378.5 | +12.55% |
กรกฎาคม | 257.0 | +119.10% | 355.7 | +38.41% | 414.5 | +16.52% |
สิงหาคม | 272.9 | +164.69% | 353.4 | +29.51% | 417.5 | +18.12% |
กันยายน | 263.4 | +123.60% | 332.3 | +26.18% | 384.9 | +15.80% |
ตุลาคม | 294.0 | +108.51% | 362.1 | +23.16% | 427.8 | +18.16% |
พฤศจิกายน | 323.6 | +104.94% | 372.7 | +15.17% | 456.4 | +22.45% |
ธันวาคม | 362.1 | +89.28% | 411.4 | +13.60% |
หมายเหตุ : ปริมาณน้ำมันโดยรวมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองในเดือน พ.ย. 2567 มีจำนวน 456.4 ล้านลิตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำมันของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจำนวน 367.6 ล้านลิตร และท่าอากาศยานดอนเมืองจำนวน 88.8 ล้านลิตร
จำนวนเที่ยวบิน
เดือน | 2565 | 2566 | 2567 | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จำนวนเที่ยวบิน | อัตราเติบโตของเที่ยวบิน (%) | จำนวนเที่ยวบิน | อัตราเติบโตของเที่ยวบิน (%) | จำนวนเที่ยวบิน | อัตราเติบโตของเที่ยวบิน (%) | |
มกราคม | 10,910 | +53.19% | 20,443 | +87.38% | 22,945 | +12.24% |
กุมภาพันธ์ | 9,606 | +49.91% | 18,616 | +93.80% | 22,064 | +18.52% |
มีนาคม | 11,477 | +7.99% | 20,682 | +93.80% | 23,367 | +12.98% |
เมษายน | 12,664 | +24.32% | 20,270 | +60.06% | 22,978 | +13.36% |
พฤษภาคม | 13,061 | +174.33% | 20,065 | +53.63% | 22,936 | +14.31% |
มิถุนายน | 13,054 | +160.04% | 19,383 | +48.48% | 21,364 | +10.22% |
กรกฎาคม | 14,832 | +244.21% | 20,453 | +37.90% | 23,493 | +14.86% |
สิงหาคม | 15,666 | +401.47% | 20,657 | +31.86% | 23,504 | +13.78% |
กันยายน | 15,326 | +220.90% | 19,398 | +26.57% | 21,333 | +9.98% |
ตุลาคม | 17,312 | +147.81% | 21,008 | +21.35% | 23,891 | +13.72% |
พฤศจิกายน | 18,394 | +109.74% | 20,544 | +11.69% | 24,092 | +17.27% |
ธันวาคม | 20,092 | +82.12% | 22,870 | +13.83% |
หมายเหตุ : จำนวนเที่ยวบินรวมที่ BAFS ให้บริการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองในเดือน พ.ย. 2567 มีจำนวน 24,092 เที่ยวบิน โดยจำนวนเที่ยวบินของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 15,271 เที่ยวบิน และเป็นของท่าอากาศยานดอนเมืองจำนวน 8,821 เที่ยวบิน
บริการระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิง อากาศยานผ่านท่อใต้ดิน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และบริการออกแบบ ผลิต ประกอบรถเติมน้ำมันอากาศยาน และระบบให้บริการน้ำมันอากาศยาน
บริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด (TARCO)
ดำเนินธุรกิจการให้บริการระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานผ่านท่อแบบแรงดันสูง (Hydrant) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
โดย TARCO ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อ 12 เมษายน 2544 และเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2549 พร้อมกับการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ดูเพิ่มเติมบริษัท บาฟส์ อินเทค จำกัด (BAFS INTECH)
ดำเนินธุรกิจออกแบบ ผลิต และประกอบรถเติมน้ำมันอากาศยานทั้งประเภทเครื่องยนต์ดีเซล และรถไฟฟ้า (e-Dispenser) รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเติมน้ำมันอากาศยาน ตลอดจนการให้บริการงานซ่อมบำรุง และการปรับปรุงรถต่างๆ (Refurbish)
เช่น รถบริการน้ำมันอากาศยาน รถบริการล้างหลุมน้ำมันในสนามบิน รถ Low Point Drain
ดูเพิ่มเติมบริษัท โกลเบิล แอโร่ แอสโซซิเอทส์ จำกัด (Global Aero Associates Company Limited)
ดำเนินธุรกิจให้บริการระบบบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา
ครอบคลุมทั้งการออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง ตลอดจนการบริหารจัดการ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)