การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต ดังนั้นจึงเกิดความร่วมมือของประชาคมโลกเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวภายใต้ Paris Agreement ซึ่งเป็นกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) รวมถึงประเทศไทยซึ่งถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ทุกบริษัทต้องให้ความร่วมมือลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 ถึง 2 องศาเซลเซียส

บริษัทจึงได้กำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกแผนระยะกลาง 8 ปี (2023-2030) เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 30% ในขอบเขตที่ 1 และ 2 และ 20% ในขอบเขตที่ 3 ภายในปี 2573 และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593

Corporate Carbon Footprint

ในปี 2566 บริษัทได้ดำเนินการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร โดยข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้รับการทวนสอบโดยหน่วยงานภายนอกเป็นที่เรียบร้อย และผ่านการรับรองจากองค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) สำหรับข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านการทวนสอบนั้นจะเป็นข้อมูลกิจกรรมของปี 2566 โดยมีรายละเอียดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร ดังนี้

รวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสามขอบเขต :

6,326

ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ขอบเขตที่ 1 :

การเผาไหม้โดยตรง

1,753

ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ขอบเขตที่ 2 :

การเผาไหม้โดยอ้อม

2,369

ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ขอบเขตที่ 3 :

การเผาไหม้โดยอ้อมอื่นๆ

2,204

ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ดัชนีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

บริษัทมีการรายงานดัชนีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรต่อการให้บริการน้ำมันอากาศยาน (Carbon Intensity) ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรกับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการ โดยมีแนวทางการคิดคำนวนดังต่อไปนี้

ในปี 2566 บริษัทมีดัชนีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าเฉพาะพื้นที่สถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีบริการเติมน้ำมันอากาศยานสุวรรณภูมิต่อการให้บริการน้ำมันอากาศยานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

= 1.47

ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อล้านลิตร

Video : BAFS Net Zero