การประเมินประเด็นสำคัญ
บริษัทดำเนินการทบทวน/ระบุ ประเด็นสำคัญ (Materiality Topics) โดยพิจารณาปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กร ความเสี่ยงและโอกาสที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ครอบคลุมประเด็นในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โดยรวมความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในกระบวนการคัดลือกประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ (Materiality) ตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนสากล GRI Standard โดยการจัดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนผ่านเครื่องมือ Materiality Matrix เพื่อพิจารณาและทดสอบประเด็นสำคัญ 2 ด้าน คือ
- ประเด็นสำคัญอันเกิดจากการดำเนินงานขององค์กร (แกนนอนX) และ
- ประเด็นที่สำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (แกนตั้งY)
โดยบริษัทมีการดำเนินการตรวจสอบความครบถ้วนและความสมบูรณ์ของเนื้อหา (Completeness) ความสอดคล้องและความครอบคลุมทุกด้านของการดำเนินธุรกิจในบริบทด้านความยั่งยืน (Sustainability Context) ทั้ง 3 มิติ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกระบวนการในขั้นตอนของการจัดทำกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัท และนำเสนอฝ่ายบริหารพิจารณารับรองประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนนี้
กระบวนการคัดเลือกประเด็นสำคัญของธุรกิจ
ผลการทบทวนประเด็นสาระสำคัญของธุรกิจ ปี 2565
มิติเศรษฐกิจ
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- การจัดการของเสีย และของเสียอันตราย
มิติสังคม
- ความปลอดภัยข้อมูล
- การมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม
- คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
- ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของพนักงาน
- สิทธิมนุษยชน
มิติธรรมาภิบาล
- การตอบสนองต่อภาวะการเปลี่ยนแปลง
- การกำกับดูแลกิจการ
- การจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท BAFS GROUP
ด้านสิ่งแวดล้อม
5
ประเด็น
- การจัดการและการบรรเทาผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- การจัดการพลังงาน และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
- การบริหารจัดการของเสียมลพิษ และการจัดการการหกรั่วไหลของน้ำมัน
- การบริหารจัดการน้ำ
- เศรษฐกิจหมุนเวียน
ด้านสังคม
4
ประเด็น
- ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ความมั่นคงในอาชีพและการพัฒนาศักยภาพพนักงาน
- การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
- สิทธิมนุษยชน และสิทธิด้านแรงงาน
ด้านเศรษฐกิจ
7
ประเด็น
- การลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม และพลังงานทางเลือก
- คุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ
- การปรับกระบวนการทำงานเป็นระบบดิจิทัล (Digitalization)
- การเปิดเผยทิศทางธุรกิจ ความคืบหน้า ของกลุ่มบริษัท และการขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน
- การบริหารจัดการห่วยโซ่อุปทาน บรรษัทภิบาล
- การป้องกันและต่อต้านคอรัปชัน
- ความปลอดภัยทางไซเบอร์
หลักเกณฑ์สำคัญที่ใช้พิจรณาในการจัดลำดับความสำคัญขององค์กร
- โอกาสในการสร้างผลกระทบของประเด็น
- ระดับความรุนแรงของผลกระทบ
- ระดับความเสี่ยงทางธุรกิจ
- ระดับผลกระทบในระยะยาว
- ความสำคัญหรือโอกาสของประเด็นในอนาคต
- ความสอดคล้องกับนโยบายหรือเป้าหมายองค์กร
หลักเกณฑ์สำคัญที่ใช้พิจรณาในการจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย
- ระดับผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย
- ความสำคัญของประเด็นในอนาคตต่อผู้มีส่วนได้เสีย
- ความหลายหลายของผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ
- ระดับความคาดหวังต่อจากมาตรการที่ตอบสนองของกลุ่มบริษัท