สรุปข้อสนเทศ: BAFS

สรุปข้อสนเทศ BAFS บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่: 171/2 หมู่ 10 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210 โทรศัพท์ : 0-25653811-8, 0-25353635-6โทรสาร 0-25653823 Home page : http://www.bafsthai.com เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2545 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2545) ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ 34 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท รวม 340 ล้านบาท ราคาเสนอขาย 60 บาท ต่อหุ้น ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BAFS) เป็นเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับสิทธิ จากรัฐบาลไทยในการดำเนินธุรกิจจัดเก็บ และให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงแก่อากาศยานทุกประเภทและ ทุกเที่ยวบิน ณ สนามบินดอนเมือง อย่างครบวงจรทั้งระบบท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงท่าอากาศยาน (Hydrant) ระบบคลังน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน (Depot) ระบบเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน (Intoplane) นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 2542 บริษัทฯยังได้ให้บริการเติมน้ำมันให้แก่สายการบินบางกอกแอร์เวย์ ณ สนามบิน ภูมิภาค ได้แก่ สนามบินสมุย และสนามบินสุโขทัย โครงสร้างรายได้ สำหรับปี 2544 ประกอบด้วย รายได้จากการให้บริการเติมน้ำมัน : รายได้จาก การให้เช่าทรัพย์สิน: รายได้อื่นๆ เท่ากับ 92: 5: 3 โดยลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างเติมน้ำมัน คือ บริษัทผู้ค้าน้ำมัน ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ บริษัทผู้ค้าน้ำมันต่าง ๆ จะทำสัญญาและเงื่อนไขในการเติมน้ำมัน โดยจะคิดค่าน้ำมันพร้อมค่าบริการโดยตรงกับสายการบินพร้อมแจ้งราย ละเอียดในสัญญาการให้บริการให้บริษัทฯทราบ เมื่อบริษัทฯมีการเติมน้ำมันให้แก่สายการบินแล้ว บริษัทผู้ค้าน้ำมัน แต่ละรายที่ทำสัญญากับสายการบินนั้นจะเป็นผู้ชำระค่าบริการ Combined User Fees (CUF) จากยอดการ เติมน้ำมันในเดือนนั้น ซึ่งบริษัทฯจะเรียกเก็บเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่บริษัทผู้ค้าน้ำมันจะชำระเป็นเงินบาท ภายใน 15 วัน และบริษัทผู้ค้าน้ำมันจะเรียกเก็บค่าน้ำมันจากสายการบินโดยตรงเอง ทั้งนี้การกำหนดราคาค่า บริการ บริษัทฯจะพิจารณาให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ภาวะเศรษฐกิจ การแข่งขัน และแผนการดำเนินงาน ของบริษัทฯ โดยเป็นราคาที่สามารถแข่งขันได้กับสนามบินนานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทฯ จะรับน้ำมันเชื้อเพลิงจากคลังน้ำมันของบริษัทผู้ค้าน้ำมันต่างๆ ซึ่งส่งผ่านทางท่อส่งน้ำมัน 2 ท่อ คือ ท่อส่งของบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด และท่อส่งของบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด มาเก็บไว้ที่ คลังน้ำมันของแต่ละบริษัทดังกล่าว (คลังเก็บน้ำมันที่ลำลูกกา และดอนเมือง) ก่อนจะถูกส่งผ่านทางท่อมาเก็บที่ ถังเก็บน้ำมันของบริษัทฯที่ดอนเมือง น้ำมันจะถูกเติมให้สายการบินต่างๆ โดยระบบท่อจ่ายน้ำมัน และโดยรถ บรรทุกน้ำมัน ซึ่งจะใช้ในพื้นที่ที่ไม่มีระบบท่อส่งน้ำมันใต้บริเวณหลุมลานจอดเครื่องบิน บริษัทฯมีการลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน 3 บริษัท คือ 1. บริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด (Thai Aviation Refuelling Co.,Ltd.) เป็นบริษัทร่วม (ทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว 314.5 ล้านบาท) ซึ่งบริษัทฯถืออยู่ 45% ประกอบกิจการให้บริการเชื้อเพลิง การบิน โดยได้รับอนุญาตให้บริการระบบท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานในสนามบินสุวรรณภูมิ (หนองงูเห่า) จากบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ (บทม.) และเริ่มดำเนินการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ในไตรมาสที่ 2 ปี 2544 คาดว่าจะแล้วเสร็จทันกำหนดการเปิดบริการท่าอากาศยานส่วนแรกในปี 2548 มูลค่า รวมของโครงการประมาณ 2,360 ล้านบาท 2. บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (Fuel Pipeline Transportation Co.,Ltd.) เป็นบริษัทที่ เกี่ยวข้องกัน (ทุนจดทะเบียน 1,592 ล้านบาท) ซึ่งบริษัทฯถืออยู่ 17% ประกอบกิจการด้านการเก็บรักษาและ ดำเนินการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางระบบท่อ 3. บริษัท บริการน้ำมันอากาศยาน จำกัด (Intoplane Services Co.,Ltd.) เป็นบริษัทย่อย (ทุนจดทะเบียน 0.12 ล้านบาท) ซึ่งบริษัทฯถืออยู่ 83 % ประกอบธุรกิจเติมน้ำมันให้แก่อากาศยาน โดยรับจ้าง เติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่สายการบิน บริษัทดังกล่าวได้หยุดดำเนินกิจการตั้งแต่ปี 2536 และเริ่มกลับมาประกอบ ธุรกิจอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2544 โดยรับจ้าง BAFS เติมน้ำมันอากาศยานที่ท่าอากาศยานสมุยและสุโขทัย การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ - ไม่มี - การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ - ไม่มี - โครงการดำเนินงานในอนาคต ทางบริษัทฯมีโครงการลงทุนในโครงการระบบส่งน้ำมันอากาศยานผ่านท่อแบบ Hydrant ในบริเวณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยการลงทุนก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำมัน ส่วนที่ 1 ก่อสร้างในปี 2544-2547 มูลค่า เงินลงทุนประมาณ 1,070 ล้านบาท ส่วนที่ 2 ก่อสร้างในปี 2550-2552 มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 560 ล้านบาท และส่วนที่ 3 ก่อสร้างในปี 2558-2560 มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 730 ล้านบาท สำหรับการลงทุน ในโครงการระบบคลังน้ำมันอากาศยานที่อากาศยานสุวรรณภูมิ (Depot System) ส่วนที่ 1 ก่อสร้างในปี 2544-2547 มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 1,698 ล้านบาท และส่วนที่ 2 ก่อสร้างในปี 2553-2555 มูลค่าเงิน ลงทุนประมาณ 338 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทฯยังมีแผนการลงทุนเป็นผู้ประกอบการเติมน้ำมันอากาศยานที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และโครงการขยายธุรกิจไปสู่การลงทุนของระบบขนส่งน้ำมันอากาศยาน รายการระหว่างกัน บริษัทฯมีรายการระหว่างกันกับกลุ่มผู้ถือหุ้นที่เป็นบริษัทผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทฯเพื่อให้บริการ เติมน้ำมันแก่สายการบินที่เป็นลูกค้าของบริษัทผู้ค้าน้ำมันเหล่านั้น จึงทำให้รายได้ของบริษัทฯถูกกำหนดโดยสัญญา การเติมน้ำมันที่บริษัทผู้ค้าน้ำมันทำกับสายการบินต่างๆ ในแต่ละปี อย่างไรก็ตามการเติมน้ำมันอากาศยานของ แต่ละสายการบิน นอกจากจะขึ้นอยู่กับสัญญาการเติมน้ำมันระหว่างสายการบินและบริษัทผู้ค้าน้ำมันแล้ว ยังมีปัจจัย ที่สำคัญคืออัตราค่า CUF ในแต่ละประเทศที่กำหนดโดยมาตรฐานสากลที่เปิดเผยทั่วไป รายการระหว่างกันที่อาจ เกิดขึ้นจึงเป็นไปตามสัญญาการค้าที่ได้ตกลงร่วมกันตามปกติของธุรกิจการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยาน (User Agreement) ซึ่งได้กำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจนและผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ สำหรับรายการระหว่างกันกับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯในสัดส่วน 6.72% เป็นการเช่าท่อส่งน้ำมันอากาศยานและการจ่ายค่าตอบแทนจากการดำเนินกิจการให้บริการเติมน้ำมัน เชื้อเพลิงแก่อากาศยาน รวมถึงการเช่าพื้นที่ในเขตและนอกเขต มีการทำสัญญาเช่าอย่างชัดเจนและผ่านการ อนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯเช่นเดียวกัน นอกจากนี้บริษัทฯยังมีธุรกรรมกับบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเกี่ยวกับ การใช้บริการ การเช่าทรัพย์สิน และการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ซึ่งได้เปิดเผยไว้อย่างชัดเจนแล้ว ทั้งนี้ กรรมการอิสระและในฐานะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาและสอบทานร่วมกับฝ่ายบริหารของ บริษัทฯแล้ว มีความเห็นว่ารายการระหว่างกันดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขโดยทั่วไปและเป็นการดำเนินธุรกิจ ปกติของการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยาน นอกจากนี้บริษัทฯยังมีรายการระหว่างกันกับบริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด โดยการที่บริษัทฯ และ กลุ่มบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมฯ มีการทำสัญญาให้ความช่วยเหลือโดยการเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนทางการเงิน ต่อ ผู้ให้สินเชื่อคือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หากบริษัทดังกล่าวอยู่ในภาวะการเงินไม่เพียงพอ โดยที่ บริษัทฯมีสัดส่วนความรับผิดชอบอยู่ภายในจำนวนไม่เกินร้อยละ 50 ของความรับผิดชอบทั้งหมด โดยมีวงเงิน สินเชื่อสกุลบาทเท่ากับ 700 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อสกุลดอลลาร์เท่ากับ 8.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และมี ยอดเบิกใช้เงิน ณ มีนาคม 2545 เท่ากับ 114.6 ล้านบาท และ 2.0 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการจ่าย ดอกเบี้ยทุกเดือน และมีกำหนดเริ่มชำระคืนเงินต้นทุกไตรมาสตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี ภายหลังการเปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภาระผูกพัน ณ 31 ธันวาคม 2544 บริษัทฯมีภาระผูกพันต่อบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ซึ่งกำลังประสบปัญหา ในการดำเนินธุรกิจ ในฐานะเป็นผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้เงินกู้ เจ้าหนี้การค้า และผู้ค้ำประกันเงินกู้ รวมภาระผูกพัน 787 ล้านบาท แต่บริษัทฯได้ทำการตั้งสำรองผลขาดทุนจากเงินลงทุน ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินให้กู้ยืม และได้ตั้งค่าเผื่อค้ำประกันเงินกู้ยืมของบริษัทดังกล่าวแล้วทั้งหมด เป็นจำนวนเงินรวม 787 ล้านบาท ปัจจัยเสี่ยง 1. ผลกระทบจากการเปิดบริการท่าอากาศยานกรุงเทพสากลแห่งที่สอง จำนวนเที่ยวบินที่มาจอดแวะ ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองจะลดลง เมื่อมีการเปิดดำเนินการในส่วนแรกของสนามบินสุวรรณภูมิในปี 2548 เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายขอความร่วมมือจากสายการบินต่างๆ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศให้เปลี่ยน เที่ยวบินมาลงที่สนามบินแห่งใหม่ สำหรับท่าอากาศยานดอนเมืองจะให้บริการเฉพาะบางส่วนของเที่ยวบิน ภายในประเทศเท่านั้น โดยปี 2548 จะมีการย้ายเที่ยวบินระหว่างประเทศมาใช้บริการในสนามบินแห่ง ใหม่ 85% เที่ยวบินในประเทศและภูมิภาค 20% และ 60% ตามลำดับ สำหรับปี 2549-2551 สัดส่วนของ เที่ยวบินทั้ง 3 ประเภทจะเป็น 90% 20% และ 70% ตามลำดับ การลดเที่ยวบินในสนามบินอย่างเป็นนัย สำคัญนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้หลักของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการลดผลกระทบจากความเสี่ยงดังกล่าว บริษัทฯจึงมีนโยบายเข้าร่วมประมูล การให้บริการระบบบริการเชื้อเพลิงการบินอย่างครบวงจรในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งในปัจจุบัน TARCO บริษัทร่วมของบริษัทฯได้รับอนุญาตให้ดำเนินการให้บริการระบบท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงในสนามบินแห่งใหม่แล้ว ส่วนระบบคลังน้ำมันอากาศยานนั้นบริษัทฯได้รับอนุญาตจาก TARCO ให้เชื่อมต่อระบบคลังน้ำมันกับ ระบบส่งน้ำมันผ่านท่อแล้ว จึงได้ซื้อที่ดินประมาณ 60 ไร่ เพื่อเตรียมก่อสร้างคลังน้ำมันและเตรียมการ ก่อสร้างแล้ว ใช้เวลาก่อสร้าง 1 ปี มูลค่าโครงการรวม 2,036 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทฯอาจ ไม่ใช้ผู้ดำเนินการระบบคลังน้ำมันเพียงรายเดียวก็ได้ สำหรับการคัดเลือกผู้ให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานนั้น ปัจจุบัน บทม. ยังไม่ได้กำหนดเวลาคัดเลือก ผู้ประกอบการ คาดว่าจะพิจารณาก่อนเปิดดำเนินการท่าอากาศยาน 1 ปี โดยอาจคัดเลือกให้มีผู้ประกอบการ มากกว่า 1 ราย และคาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าดำเนินการ 2-3 ราย มูลค่าการลงทุนในส่วนนี้ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทฯยังมีความเสี่ยงในการลงทุนที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วย หากท่าอากาศยานแห่งใหม่ไม่ สามารถเปิดดำเนินได้ทันในปี 2548 และต้องล่าช้าออกไป อาจส่งผลกระทบต่อเงินลงทุนที่ลงทุนไปไม่สามารถ สร้างผลตอบแทนแก่ ผู้ถือหุ้น แต่ก็จะส่งผลดีต่อรายได้หลักของบริษัทฯที่สนามบินดอนเมืองที่สามารถชะลอผล กระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดสนามบินแห่งใหม่ 2. ผลกระทบจากบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ประสบปัญหาการดำเนินงานและต้องทำการปรับ โครงสร้างหนี้ ณ 31 ธันวาคม 2544 BAFS มีภาระค้ำประกันเงินกู้ให้บริษัทดังกล่าวเป็นจำนวน 415 ล้านบาท ซึ่ง ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2545 บริษัทขนส่งน้ำมันทางท่ออยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ครั้งที่ 3 กับเจ้าหนี้ สถาบันการเงิน และเมื่อเดือนมกราคม 2545 เจ้าหนี้ได้แจ้งให้ BAFS ทราบถึงเงื่อนไขการชำระหนี้ตาม ภาระค้ำประกันจำนวน 415 ล้านบาท แทนบริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ โดยต้องชำระในวันลงนามในสัญญาปรับ โครงสร้างหนี้ครั้งที่ 3 จำนวน 207.55 ล้านบาท และส่วนที่เหลืออีก 207.55 ล้านบาท ให้ผ่อนชำระทุก ไตรมาส เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2545 จนถึงธันวาคม 2547 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียด ขั้นสุดท้ายในการชำระหนี้คืน ทั้งนี้ BAFS จะสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนต่อไป 3. ผลกระทบจากการลดลงของเที่ยวบินอันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก - ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ อาจมีผลกระทบให้ผู้บริโภคลดค่าใช้จ่ายลง เช่น ลดการเดินทางท่องเที่ยว หรือ เปลี่ยนรูปแบบการเดินทางโดยไม่เดินทางโดยเครื่องบิน - เหตุการณ์ที่อาจมีผลต่อธุรกิจการบิน ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายนำเครื่องบินชนตึก เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่เมืองนิวยอร์ค ซึ่งมีผลให้เศรษฐกิจโลกตกต่ำลงยิ่งขึ้นและมีผลให้ผู้บริโภค ตัดค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว - การแข่งขันที่สูงขึ้นของท่าอากาศยานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันมีการแข่งขัน สูงขึ้นอย่างมาก แต่ละท่าอากาศยานจะมุ่งแข่งขันกันในเรื่องการให้บริการในด้านต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันและค่าบริการเติมน้ำมันอากาศยาน ค่าบริการการใช้ท่าอากาศยาน ดังนั้นจึงเป็นปัจจัย ภายนอกที่บริษัทฯไม่สามารถควบคุมได้ของบริษัทฯ - ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการบิน มีส่วนช่วยให้เครื่องบินสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากขึ้น ขณะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงน้อยลง - การร่วมมือของสายการบิน เพื่อลดลดความซ้ำซ้อนกันในเส้นทางการบินและตารางเวลา 4. ผลกระทบจากการขนส่งน้ำมันอากาศยานทางท่อจากบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด และบริษัท ท่อส่งน้ำมันปิโตรเลียมไทย จำกัด ในกรณีที่ท่อขนส่งน้ำมันชำรุดหรือเกิดเหตุที่ทำให้ไม่สามารถส่งน้ำมันอากาศยาน ให้แก่บริษัทฯได้ 5. ผลกระทบจากบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ได้แก่ - การประสบปัญหาทางการเงินในการดำเนินธุรกิจของ บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด โดยที่ ปัจจุบันบริษัทฯ ได้จำกัดผลกระทบโดยการตั้งสำรองเผื่อผลกระทบต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว - ความเสี่ยงต่อความเสียหายของท่อส่งน้ำมัน จากการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ 6. ผลกระทบจากบริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด ปฏิบัติผิดสัญญาต่อ บทม. ซึ่งจะทำให้บริษัทดังกล่าว ต้องเสียค่าปรับให้แก่ บทม. และผลกระทบจากการที่บริษัทฯมีการทำสัญญาให้ความช่วยเหลือกับ บริษัท ไทย- เชื้อเพลิงการบิน จำกัด โดยเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนทางการเงิน ต่อผู้ให้สินเชื่อ ในกรณีที่บริษัทดังกล่าวอยู่ในภาวะ การเงินไม่เพียงพอ กรณีพิพาท ทางบริษัทฯ ร่วมกับบริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด (โจทย์ที่ 1 และ 2 ตามลำดับ) ยื่นฟ้อง บมจ.ปตท. และนายวิเศษ จูภิบาล (จำเลยที่ 1 และ 2 ตามลำดับ) ณ ศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร เมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2544 ในฐานความผิดโดยสรุป คือ จงใจให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย โดยให้ข่าว กับสื่อมวลชนต่างๆ ว่า โจทย์ได้รับงานระบบท่อขนส่งน้ำมันใต้ดินโดยผิดกฎหมาย และการกระทของจำเลย ทั้งสองเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท และเป็นการกระทำที่ขัดกับข้อพึงปฏิบัติทางจริยธรรมของ ผู้บริหารบริษัทฯ กล่าวคือ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจใน บริษัทฯ โดยขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินรวมทั้งหมด 1,322 ล้านบาท จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 มีจำนวนทั้งสิ้น 253 คน ประกอบด้วยพนักงานประจำจำนวน 237 คน และพนักงานชั่วคราวจำนวน 16 คน ประวัติความเป็นมาโดยสรุป บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2526 ด้วยทุนจดทะเบียน 80 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินการตามความเห็นและมติสำนักงานคณะ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่จะจัดตั้งโครงการเติมน้ำมันอากาศยาน และเป็นบริษัทเดียว ที่ได้รับสิทธิจากรัฐบาลไทยในการดำเนินธุรกิจจัดเก็บและให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงแก่อากาศยานทุกประเภท และทุกเที่ยวบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทที่เกี่ยวข้อง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 ปรากฏดังนี้ หน่วย : ล้านบาท ชื่อบริษัท ประเภทกิจการ ทุนชำระแล้ว ร้อยละ มูลค่าเงินลงทุน และลักษณะธุรกิจ ของหุ้นที่ถือ (ตามราคาทุน) 1. บจ.บริการน้ำมันอากาศยาน เติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้อากาศยาน 0.12 83.33 0.10 2. บจ.ไทยเชื้อเพลิงการบิน บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน 314.50 45.00 157.25 3. บจ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ ขนส่งน้ำมันทางท่อ 796.00 16.67 265.52 การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา - ไม่มี - รอบระยะเวลาบัญชี 31 ธันวาคม ทุกปี ผู้สอบบัญชี นายรุทร เชาวนะกวี บริษัทสำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของกำไรหลังหักภาษีเงินได้ นิติบุคคลและสำรองตามกฎหมาย และสำรองอื่นๆ ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยหุ้นเพิ่มทุนที่เสนอขาย ในครั้งนี้จะมีสิทธิในการรับเงินปันผลอัตราหุ้นละ 4.54 บาท สำหรับผลประกอบการของบริษัทฯ ปี 2544 ซึ่งบริษัทฯจะปิดสมุดทะเบียนเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลในวันที่ 12 เมษายน 2545 ทั้งนี้จะเสนอขอความ เห็นชอบต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่จะจัดขึ้นในวันที่ 29 เมษายน 2545 ต่อไป บัตรส่งเสริมการลงทุน - ไม่มี - จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 29 มีนาคม 2545 ปรากฎดังนี้ จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของ ทุนชำระแล้ว 1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders 1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ 4 14,399,100 42.35 1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึง 13 194,800 0.57 ผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ 1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 7,200,000 21.18 1.4 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้น 2 2,400,000 7.06 ภายในเวลาที่กำหนด 2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อย (Non-Strategic 3,179 9,806,100 28.84 shareholders) รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น 3,201 34,000,000 100.00 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 29 มีนาคม 2545 รายชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว 1. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 7,679,100 22.59 2. บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด 2,640,000 7.76 3. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2,400,000 7.06 4. บริษัท เอสโซ่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) 2,400,000 7.06 5. บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด 2,400,000 7.06 6. บริษัท น้ำมันคาลเท็กซ์ (ไทย) จำกัด 2,400,000 7.06 7. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย 1,680,000 4.94 8. บริษัท เอลฟ์ เอวิเอชั่น (ประเทศไทย) จำกัด 1,200,000 3.53 9. บริษัท โมบิล อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น แอนด์ มารีน เซลส์ อิงค์ 1,200,000 3.53 10. SAN-AI OIL COMPANY LIMITED 300,000 0.88 รวม 24,299,100 71.47 ผู้ถือหุ้นต่างด้าว ณ วันที่ 29 มีนาคม 2545 บริษัทฯ มีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 17 ราย ถือหุ้นรวมกัน 6,332,900 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 18.63 ของทุนชำระแล้ว หมายเหตุ ข้อบังคับของบริษัทฯ ข้อ 6 ระบุว่าหุ้นของบริษัท สามารถโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด เว้นแต่การโอนหุ้นเป็นเหตุ ให้หุ้นของบริษัทที่ถือโดยผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยมีจำนวน น้อยกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด หรือ เป็นเหตุให้หุ้นที่ถือโดยบุคคลต่างด้าวตามกฎหมายมีจำนวนมาก กว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด คณะกรรมการ รายชื่อตำแหน่ง 1.นายศรีสุข จันทรางศุ ประธานกรรมการ 2.นายพิสิฐ กุศลาไสยานนท์ รองประธานกรรมการ 3.นายทัศนัย สุทัศน์ ณ อยุธยา กรรมการ 4.นายกอบชัย ศรีวิลาศ กรรมการ 5.หม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล กรรมการ 6.นายวีระศักดิ์ โตกะคุณะ กรรมการ 7.นายวิเศษ จูภิบาล กรรมการ 8.นายบัญชา ปัตตนาภรณ์ กรรมการ 9.นายอัษฎา หะรินสุต กรรมการ 10.นายชัยมาศ ศรีนาง กรรมการ 11.นายฉั่ว เส็ง ชวน กรรมการ 12.นายวินัย จำลองราษฎร์ กรรมการ 13.นายมนัส ลีวีระพันธุ์ กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 14.ดร. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 15.เรืออากาศเอกอุดม กฤษณัมพก กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการของบริษัทฯ โดยตรง และคณะกรรมการบริษัทฯ ยังคงมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทฯ ต่อบุคคลภายนอก โดยขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของ คณะกรรมการตรวจสอบ และวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ 1. สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ 2. สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล 3. สอบทานให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาด หลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ 4. พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ 5. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน 6. จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี ของบริษัทฯ ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ วาระการดำรงตำแหน่งของประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการตรวจสอบคือ 3 ปี โดยวาระการ ดำรงตำแหน่งจะเป็นไปตามวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริษัทฯ เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ - ไม่มี - ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทซึ่งถือหุ้นสามัญจำนวนรวมกัน 11,999,100 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 35.29 ของ ทุนชำระแล้ว (340 ล้านบาท) ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า จะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าว ออกจำหน่ายเป็นระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่หุ้นของบริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้หาก บริษัทมีการเพิ่มทุนโดยจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในช่วงระยะเวลาการห้ามขายหุ้นดังกล่าว การกำหนดจำนวน การห้ามขายหุ้นให้รวมถึงจำนวนหุ้นเพิ่มทุนของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นที่ได้รับจัดสรรดังกล่าวด้วย นอกจากนี้กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯซึ่งถือหุ้นอยู่จำนวน 24 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 70.6 ของทุนชำระ แล้ว มีความประสงค์ที่จะนำหุ้นทั้งหมดของตนเข้า Silent Period เป็นเวลา 1 ปี อื่นๆ ที่สำคัญ เพื่อให้การซื้อขายหุ้นของบริษัทฯในตลาดหลักทรัพย์มีสภาพคล่องมากขึ้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2544 บริษัทฯจึงพิจารณาเปลี่ยนมูลค่าที่ตราไว้เปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นสามัญ จากหุ้นละ 10 บาท เป็นมูลค่าหุ้นละ 1 บาท โดยได้นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2544 เพื่อพิจารณาก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่อไป ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงลดมูลค่าหุ้นและการแก้ไข เปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของจำนวน เสียงของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด สถิติ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย |------- ล้านบาท --------|-------- บาท / หุ้น ----------| ปี รายได้ กำไร (ขาดทุน) กำไร (ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล ค่าบริการ สุทธิ สุทธิต่อหุ้น ตามบัญชี ต่อกำไร (%) 2542 692.02 214.57 8.58 4.00* 38.53 46.61 2543 774.84 212.28 8.49 4.68* 42.35 55.12 2544 882.41 (76.27) (3.05) 4.54* 33.11 n.a. 2545** 826.95 306.46 9.01 4.06 45.19 45.00 หมายเหตุ * อัตราการจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นในปี 2542-2543 คิดจากจำนวนหุ้นรวม 25 ล้านหุ้น ส่วนปี 2544 คิดจากจำนวนหุ้นรวม 34 ล้านหุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) ** ประมาณการ จากงบภายในของบริษัทฯ สรุปข้อมูลทางการเงิน ประมาณการ |----------ตรวจสอบแล้ว------------| งบภายใน |-----------เกิดขึ้นจริง-------------| (หน่วย: ล้านบาท) สำหรับปี สิ้นสุด |----------สำหรับปีสิ้นสุด------------| 31 ธ.ค. 45 31 ธ.ค. 44 31 ธ.ค.43 31 ธ.ค. 42 ปริมาณน้ำมันที่ให้บริการ (ล้านลิตร) 3,625.00 3,494.00 3,262.00 3,076.60 รายได้ค่าบริการ 826.95 882.41 774.84 692.02 รายได้รวม 907.66 962.58 860.19 777.37 ต้นทุนการให้บริการ 311.49 320.59 329.64 304.78 รวมค่าใช้จ่าย * 456.98 888.97 523.45 415.31 ดอกเบี้ยจ่าย 2.35 1.89 2.57 2.78 กำไรก่อนภาษีเงินได้และขาดทุน 456.53 490.83 404.56 400.93 จากเงินลงทุน เงินให้กู้ยืมแก่บริษัท ที่เกี่ยวข้อง และภาระค้ำประกัน ขาดทุนจากเงินลงทุน เงินให้กู้ยืม 5.85 417.22 67.82 38.88 แก่บริษัทที่เกี่ยวข้อง และภาระ ค้ำประกัน กำไรก่อนภาษีเงินได้สุทธิจาก 450.68 73.61 336.74 362.05 ขาดทุนจากเงินลงทุน เงินให้กู้ยืม แก่บริษัทที่เกี่ยวข้องและภาระค้ำประกัน กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 306.46 (76.27) 212.28 214.57 จำนวนหุ้นรวม (ล้านหุ้น) 34.00 25.00 25.00 25.00 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น 9.01 (3.05) 8.49 8.58 เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น 848.96 774.83 744.52 594.43 ลูกหนี้การค้า 72.73 100.56 94.07 74.85 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 982.97 903.98 871.39 688.01 ค่าเสื่อมราคา 99.74 96.08 84.45 84.45 สินทรัพย์ถาวร (สุทธิ) 698.34 497.79 420.20 407.20 สินทรัพย์รวม 1,945.39 1,565.22 1,346.22 1,216.89 เจ้าหนี้การค้า 23.26 20.44 19.25 15.41 รวมหนี้สินหมุนเวียน 240.39 305.35 269.15 234.98 หนี้สินรวม 408.96 737.35 287.58 253.53 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 1,536.43 827.87 1,058.64 963.36 กำไรสะสม 744.43 575.87 806.64 711.86 กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร 369.94 232.03 462.80 389.25 เงินปันผล 137.91 154.50 117.00 100.00 เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 339.75 435.92 350.29 306.50 เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน (677.92) (319.57) (117.44) (632.86) เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 412.04 (121.04) (108.75) (64.54) หมายเหตุ * รายการรวมค่าใช้จ่ายนี้เป็นรายการที่ปรากฏในงบการเงินของผู้สอบบัญชี ประกอบด้วย ต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ส่วนแบ่งผลขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธี ส่วนได้เสีย ขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน ค่าใช้จ่ายภาระค้ำประกัน และ ค่าตอบแทนกรรมการ เป็นต้น จัดทำโดย : บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด